2. รายละเอียดในการตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารอย่างน้อยต้องทำการตรวจสอบในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้
(ก) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
(ข) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
(ค) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
(ง) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
(จ) การชำรุดสึกหรอของอาคาร
(ฉ) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
(ช) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
(2) การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
(ก) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
(1) ระบบลิฟต์
(2) ระบบบันไดเลื่อน
(3) ระบบไฟฟ้า
(4) ระบบปรับอากาศ
(ข) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(1) ระบบประปา
(2) ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(3) ระบบระบายน้ำฝน
(4) ระบบจัดการมูลฝอย
(5) ระบบระบายอากาศ
(6) ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
(ค) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
(1) บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(2) เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
(3) ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
(4) ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
(5) ระบบลิฟต์ดับเพลิง
(6) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(7) ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
(8) ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
(9) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
(10)ระบบป้องกันฟ้าผ่า
(3) การตรวจสอบสมรรถนะของระบบ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร
(ก) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(ข) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
(ค) สมรรถนะระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(4) การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
(ก) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอา
(ข) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
(ค) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
(ง) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
2.2ลักษณะบริเวณที่ต้องตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบ รายงาน และประเมินลักษณะบริเวณที่นอกเหนือจากอาคารดังต่อไปนี้
(1) ทางเข้าออกของรถดับเพลิง
(2) ที่จอดรถดับเพลิง
(3) สภาพของรางระบายน้ำ
2.3ระบบโครงสร้าง
2.3.1 ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ส่วนของฐานราก
(2) ระบบโครงสร้าง
(3) ระบบโครงหลังคา
2.3.2 สภาพการใช้งานตามที่เห็น การสั่นสะเทือนของพื้น การแอ่นตัวของพื้นคานหรือตง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ
2.3.3 การเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของระบบโครงสร้างของอาคาร
2.3.4 ความเสียหายและอันตรายของโครงสร้าง เช่น ความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัยความเสียหายจากการแอ่นตัวของโครงข้อหมุน และการเอียงตัวของผนัง เป็นต้น
2.4ระบบบริการและอำนวยความสะด
2.4.1 ระบบลิฟต์ ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบลิฟต์
(2) ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์
(3) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.4.2 ระบบบันไดเลื่อน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบของบันไดเลื่อน
(2) ตรวจสอบการทำงานของบันไดเลื่อน
(3) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบ ระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.4.3 ระบบไฟฟ้า
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนี้
(1) สภาพสายไฟฟ้า ขนาดกระแสของสาย จุดต่อสาย และอุณหภูมิขั้วต่อสาย
(2) ท่อร้อยสาย รางเดินสาย และรางเคเบิล
(3) ขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกินและพิกัดตัดกระแสของบริภัณฑ์ประธานแผงย่อย และแผงวงจรย่อย
(4) เครื่องตัดไฟรั่ว
(5) การต่อลงดินของบริภัณฑ์ ขนาดตัวนำต่อลงดิน และความต่อเนื่องลงดิน ของท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล
(6) ระบบไฟฟ้าของระบบลิฟต์
(7) ระบบไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ
(8) ระบบไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำ
(9) ระบบไฟฟ้าของระบบบำบัดน้ำเสีย
(10) รายการอื่นตามตารางรายการตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะดังนี้
(1) วัดหรือทดสอบแผงสวิตซ์ที่ต้องให้สายวัดสัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่แผงสวิตซ์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่
(2) ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
(3) ถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้านอกจากเพียงเปิดฝาแผงสวิสตซ์แผงควบคุม เพื่อตรวจสภาพบริภัณฑ์
2.4.4 ระบบปรับอากาศ
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบปรับอากาศ ดังนี้
(1) อุปกรณ์เครื่องเป่าลมเย็น (AHU)
(2) สภาพทางกายภาพของเครื่องเป่าลมเย็น
(3) สภาพการกระจายลมเย็นที่เกิดขึ้น
(4) สภาพของอุปกรณ์และระบบควบคุมแผงควบคุมระบบ
2.5ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ดังต่อไปนี้
(1) สภาพทางกายภาพและการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสียและระบายน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการขยะมูลฝอย ระบบระบายอากาศ และระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
(2) ความสะอาดของ ถังเก็บน้ำประปา
2.6ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ดังต่อไปนี้
2.6.1 บันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ เครื่องหมาย และไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบสภาพราวจับ และราวกันตก
(2) ตรวจสอบความส่องสว่างของแสงไฟ บนเส้นทาง
(3) ตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ตลอดเส้นทางจนถึงเส้นทางออกสู่ภายนอกอาคาร
(4) ตรวจสอบการปิด – เปิดประตู ตลอดเส้นทาง
(5) ตรวจสอบป้ายเครื่องหมายสัญลักษณ์
2.6.2 ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ พร้อมระบบอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน
(2) ทดสอบการทำงานว่าสามารถใช้ได้ทันที่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งแบบ อัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือ รวมทั้งสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงักขณะเกิดเพลิงไหม้
(3) การรั่วไหลของอากาศภายในช่องบันไดแบบปิดทึบที่มีระบบพัดลมอัดอากาศ รวมทั้งการออกแรงผลักประตูเข้าบันไดขณะพัดลมอัดอากาศ ทำงาน
(4) สอบช่องเปิด เพื่อการระบายควันจากช่องบันไดและอาคาร รวมถึงช่องลมเข้าเพื่อเติมอากาศเข้ามาแทนที่ด้วย
(5) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.6.3 ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของแบตเตอรี่ เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์
(2) ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ และปริมาณน้ำมันที่สำรองไว้
(3) ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือ
(4) ตรวจสอบการระบายอากาศ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน
(5) ตรวจสอบวงจรระบบจ่ายไฟฟ้า ให้แก่อุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิต และที่สำคัญอื่น ๆ ว่ามีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าดีขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร
(6) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.6.4 ระบบลิฟต์ดับเพลิง
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบตามเกณฑ์ทั่วไปของลิฟต์
(2) ตรวจสอบสภาพโถงปลอดควันไฟ รวมทั้งช่วงเปิดต่าง ๆ และประตู
(3) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ ภายในโถงปลอดควันไฟ
(4) ตรวจสอบการป้องกันน้ำไหลลงสู่ช่องลิฟต์ ( ถ้ามี )
(5) ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ดับเพลิง รวมทั้งสัญญาณกระตุ้นจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และการทำงานของระบบอัดอากาศ (ถ้ามี)
(6) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.6.5 ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ในแต่ละห้อง/พื้นที่ ครอบคลุมครบถ้วน (2) ตรวจสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ, อุปกรณ์แจ้งเหตุต่าง ๆครอบคลุมครบถ้วน ตำแหน่งของแผงควบคุมและแผงแสดงผลเพลิงไหม้
(3) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ใช้สัญญาณกระตุ้นระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(4) ตรวจสอบความพร้อมในการแจ้งเหตุทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(5) ตรวจสอบขั้นตอนการแจ้งเหตุอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน
(6) ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุม
(7) ตรวจสอบการแสดงผลของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(8) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.6.6 ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง และ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์และระบบดับเพลิง ในแต่ละห้อง/พื้นที่ และครอบคลุมครบถ้วน
(2)ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์และระบบทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือรวมความพร้อมใช้งานตลอดเวลา
(3) ตรวจสอบการทำงานอุปกรณ์ระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสายดับเพลิง อาทิ การแจ้งเหตุ การเปิด – ปิดลิ้นกั้นไฟหรือควัน เป็นต้น
(4) ตรวจสอบขั้นตอนการดับเพลิงแบบอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน
(5) ตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดของแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุมแหล่งน้ำดับเพลิง ถังสารดับเพลิง
(6) ตรวจสอบความดันน้ำ และการไหลของน้ำ ในจุดที่ไกลหรือสูงที่สุด
(7) ตรวจสอบการแสดงผลของระบบดับเพลิง
(8) ตรวจการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.6.7 ระบบป้องกันฟ้าผ่า
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบระบบตัวนำล่อฟ้า ตัวนำต่อลงดินครอบคลุมครบถ้วน
(2) ตรวจสอบระบบรากสายดิน
(3) ตรวจสอบจุดต่อประสานศักย์
(4) ตรวจสอบ การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.7 การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบแบบแปลนของอาคารเพื่อใช้สำหรับการดับเพลิง
(2) ตำแหน่งที่เก็บแบบแปลน